วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิวัฒนาการโทรศัพท์มือถือ 2

วิวัฒนาการโทรศัพท์มือถือ




วิวัฒนาการโทรศัพท์มือถือในไทย
"ตำนานไปรษณีย์โทรเลขสยาม" พ.ศ.2429 ถึง พ.ศ.2468 ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับโทรศัพท์ในประเทศไทยไว้ว่า ประเทศไทยได้นำเอาโทรศัพท์มาใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2424 ตรงกับรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยกรมกลาโหม (กระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน) ได้สั่งเข้ามาใช้งานในกิจการเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ โดยติดตั้งที่กรมอู่ทหารเรือกรุงเทพฯ 1 เครื่อง และป้อมยามปากน้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการอีก 1 เครื่อง รวม 2 เครื่อง เพื่อจะได้แจ้งข่าวเรือเข้าออกในแม่น้ำเจ้าพระยาให้ทางกรุงเทพฯทราบ

พ.ศ.2429 กิจการโทรศัพท์ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้น จำนวนเลขหมายและบุคลากรก็เพิ่มมากขึ้นยุ่งยากแก่การบริหารงานของกรมกลาโหม ดังนั้น กรมกลาโหมจึงได้โอนกิจการของโทรศัพท์ให้ไปอยู่ในการดูแลและดำเนินการของกรมไปรษณีย์โทรเลข ต่อมากรมไปรษณีย์โทรเลขก็ได้ขยายกิจการโทรศัพท์จากภาครัฐสู่เอกชน โดยให้ประชาชน มีโอกาสใช้โทรศัพท์ได้ ในระยะนี้เครื่องที่ใช้จะเป็น ระบบแม็กนีโต(Magneto)หรือระบบ โลคอลแบตเตอรี่ (Local Battery )

พ.ศ.2450 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้สั่งโทรศัพท์ ระบบคอมมอนแบตเตอรี่ (Common Battery) หรือ เซ็นทรัล แบตเตอรี่(Central Battery) มาใช้ซึ่งสะดวกและประหยัดกว่าระบบแม็กนีโตมาก

พ.ศ.2479 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้สั่งซื้อชุมสายระบบสเต็บบายสเต็บ(Step by Step) ซึ่งเป็นระบบอัตโนมัติสามารถหมุนเลขหมายถึงกันโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านพนักงานต่อสาย(Operator) เหมือน โลคอลแบตเตอรี่ หรือ เซ็นทรัล แบตเตอรี่

พ.ศ.2497 เนื่องจากกิจการโทรศัพท์ได้เจริญก้าวหน้ามาก ประชาชนนิยมใช้ แพร่หลายไปทั่วประเทศ กิจการใหญ่โตขึ้นมากทำให้การบริหารงานลำบากมากขึ้น เพราะกรมไปรษณีย์โทรเลขต้องดูแลเรื่องอื่นอีกมาก ดังนั้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2497 จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติตั้งองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยขึ้น โดยแยกกองช่างโทรศัพท์กรมไปรษณีย์โทรเลขมาตั้งเป็นองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยขึ้น มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคมมาจนถึงปัจจุบัน องค์การโทรศัพท์หลังจากที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นแล้ว ก็ได้รับโอนงานกิจการโทรศัพท์มาดูแล

พ.ศ.2517 องค์การโทรศัพท์ก็สั่งซื้อชุมสายโทรศัพท์ระบบคอสบาร์(Cross Bar) มาใช้งานระบบคอสบาร์เป็นระบบอัตโนมัติเหมือนระบบสเต็บบายสเต็บแต่ทันสมัยกว่าทำงานได้เร็วกว่า มีวงจรพูดได้มากกว่า และขนาดเล็กกว่า

พ.ศ.2526 องค์การโทรศัพท์ได้นำระบบชุมสาย SPC (Storage Program Control) มาใช้งาน ระบบ SPC เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer) ทำงานได้รวดเร็วมาก ขนาดเล็ก กินไฟน้อย และยังให้บริการเสริมด้าน อื่น ๆ ได้อีกด้วย

ในปัจจุบันชุมสายโทรศัพท์ที่ติดตั้งใหม่ ๆ จะเป็นระบบ SPC ทั้งหมด ระบบอื่น ๆ เลิกผลิตแล้ว ประเทศไทยเรากำลังเร่งติดตั้งโทรศัพท์เพื่อให้พอใช้กับประชาชน ดังจะเห็นจากโครงการ 3 ล้านเลขหมายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 และโครงการอื่น ๆ ต่อไป รวมทั้งวิทยุโทรศัพท์อีกด้วย เพื่อเสริมให้ระบบสื่อสารในประเทศไทยมีประสิทธิภาพ เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป


วิวัฒนาการโทรศัพท์มือถือ มีการพัฒนามาเรื่อยๆ สังเกตุได้จาก• รูปร่างขนาดใหญ่ เป็น รูปร่างขนาดเล็ก
• ภาพหน้าจอขาว – ดำ เป็น ภาพหน้าจอ สี
• ใช้สำหรับพูดคุยระหว่าง คน 2 คน เป็น ประชุมสาย ตั้งแต่ 3 สายขึ้นไปได้
• ใช้ฟังเพลงได้ – ใช้ดูหนังได้ MP3
• เป็นกล้องถ่ายรูป – เป็นกล้องวีดีโอได้ อัดเสียงสนทนาได้
• ใช้เป็นเครื่องคิดเลข เป็น ออร์แกไนเซอร์ จดบันทึกข้อมูล
• และอีกหลายๆ คุณสมบัติของโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ
ปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือ ได้พัฒนาการมามาก จะเห็นได้จากคุณสมบัติ อาทิเช่น
• สามารถใช้งานได้ทั้งโทรศัพท์และออร์แกไนเซอร์
• สามารถใช้งานได้ยาวนานโดยไม่ต้องชาร์ทไฟ
• สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ ได้ด้วยหน่วยความจำมากมายหากไม่พอซื้อเพิ่มได้
• รองรับระบบการใช้งานแบบ wireless Modem และ Business E-mail สามารถถ่ายโอนข้อมูลได้โดยใช้ Bluetooth หรือ USB
ในความคิดเห็นส่วนตัว โทรศัพท์ไม่เพียงแต่จะติดต่อสื่อสารกันเท่านั้น อาจทำงานให้เราได้ด้วย หรือ การพัฒนาการเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น PDA หรือ Pocket Pc ในอนาคตวิวัฒนาการของโทรศัพท์อาจจะเป็น เครื่องเจาะเวลาหาอดีต หรือ อนาคต ก็เป็นไปได้ เช่นนึกถึงอดีตเมื่อ 7 ปีที่ผ่านมาก็กด และ เราสามารถย้อนกลับไปในอดีตได้ หรือหากต้องการทราบอนาคต ก็กดปุ่มและไปยังอนาคตอีก 7 ปีข้างหน้าได้ โทรศัพท์มือถือ อาจจะเป็นอุปกรณ์ประหยัดน้ำมัน หากนำโทรศไปใช้บนรถยนต์ เนื่องจากในอนาคตรถยนต์อาจจะขับเคลื่อนด้วย ระบบเครือข่าย ผ่านดาวเทียม(อาจจะ) เนื่องจากน้ำมันราคาแพงขึ้นทุกวัน วิวัฒนาการต่างๆ เกิดจากการคิดที่หลุดกรอบ ดังนั้นใครจะรู้ว่า อาจมีโทรศัพท์มือถือเจาะเวลาหาอดีต หรือ โทรศัพท์มือถือประหยัดน้ำมัน ดังเช่นที่คนสมัยโบราณไม่เชื่อว่าเราจะบินได้โดยเครื่องบิน โทรศัพท์อาจจะมีขนาดเล็กเหมือนแหวน และพอจะใช้ก็แปลงร่างออกมาได้ใครจะรู้

วิวัฒนาการโทรศัพท์มือถือ ( เพจเจอร์ )

เพจเจอร์ คืออะไร???

{#เพจเจอร์01.jpg}

หาก จะพูดถึงอุปกรณ์การสื่อสารที่สะดวกสบายและได้รับความนิยมที่สุดในยุคนี้  แทบทุกคนคงตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า โทรศัพท์มือถือ ซึ่งทุกวันนี้กลายเป็นปัจจัยที่6(ต่อจากเงินที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน  ชนิดมีกันแทบทุกคน บางคนมีเครื่องเดียวยังไม่พอเลย
ที่ได้รับความนิยม เป็นอย่างมาก ก็ด้วยประโยชน์เอนกประสงค์  ทำได้แทบทุกอย่างทั้ง โทรศัพท์ ส่งข้อความ ฟังวิทยุ ฟังเพลง ถ่ายรูป ถ่ายวีดีโอ เล่นเกมส์ ดูหนัง ดูทีวี เล่นอินเทอร์เน็ต
ทว่า ก่อนการมาถึงของโทรศัพท์มือถือและเครื่องพีซีที  ในยุคหนึ่งถ้ายังจำกันได้(ประมาณปี2530-2540) เราเคยติดต่อสื่อสารกันผ่านเครื่อง เพจเจอร์ หรือที่เรียกอีกอย่างว่า แพ็กลิงค์  ส่วนในภาษาทางการบอกว่าเป็น วิทยุติดตามตัว(ก็ติดตามตัวจริง บ้างก็ติดตามเข็มขัด ห้อยกับกางเกง กระโปรงแล้วแต่ความถนัด)

วัตถุทรงสี่เหลี่ยม ผืนผ้าสีดำ(รุ่นแรกๆ) ที่จะสั่นทุกครั้งที่มีข้อความเข้ามาที่เครื่อง เมื่อกดดูก็จะพบตัวหนังสือแสดงอยู่บนหน้าจอยาวๆ มีหลากหลายยี่ห้อ ทั้ง 152 โฟนลิ้งค์  1500 อีซี่คอล 1144 แพ็คลิงค์(ยี่ห้อนี้ฮิตขนาดคนใช้เรียกแทน เพจเจอร์เลย คล้ายๆกับยี่ห้อ แฟ๊บ ที่เราใช้เรียกแทนผงซักฟอก) 142 เวิร์ลเพจ  162 ฮัทชิสัน 1188 สามารถ  โพสต์เทล  ราคาในตอนนั้นก็มีตั้งแต่ 1000-5000 บาท หมายเลขมี 7 ตัวคล้ายๆเบอร์บ้าน(ใครยังจำได้บ้าง)
แรกเริ่มเดิมที เพจเจอร์ได้รับความนิยมในแวดวงธุรกิจและข้าราชการ เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารในการทำงาน ส่วนนอกเวลางานก็ใช้ติดต่อธุระส่วนตัว
ในยุคนั้น เพจเจอร์ มีบทบาทอย่างมากในวงการวิทยุ โดยการเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างผู้จัดรายการกับผู้ฟัง เพื่อใช้แจ้งข่าวสาร ขอเพลง เล่นเกมส์ ร่วมเสนอแนะ

ต่อมา เพจเจอร์ ก็เริ่มได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่นมากขึ้น ผู้ผลิตเริ่มมีการออกแบบรูปทรงให้มีความทันสมัยและมีสีสันที่สดใส หลากหลายมากขึ้น  ทำให้เพจเจอร์กลางเป็นเครื่องมือสื่อสารแห่งยุคไปโดยปริยาย
หนุ่มๆสาวๆส่วนใหญ่ในตอนนั้นใช้ เพจเจอร์ ในการสานความสัมพันธ์กัน แทนการเขียนจดหมายที่ดูจะชักช้าล้าสมัยไม่ทันเวลา
จะโทรศัพท์หาก็เปลืองเงินแถมบางบ้านมีโทรศัพท์เครื่องเดียวก็ไม่สะดวก จะโทรตู้สาธารณะก็ลำบากแลกเหรียญแถมยืนขาแข็งอีก



{#เพจเจอร์02.jpg}
ต่างกับเพจเจอร์ที่ ส่งข้อความเร็วและมีความเป็นส่วนตัวสูง เพราะนอกจากคอลเซ็นเตอร์ก็มี เธอเพียงคนเดียวที่ได้ข้อความ(ถ้าไม่มีใครไปแอบอ่านนะ)
เมื่อนึกย้อนกลับไป ชายหนุ่มหลายคนยังคงจำภาพตัวเองยืนในตู้โทรศัพท์หยอดเหรียญ  แล้วบอกข้อความที่ซึ้งบ้าง เสี่ยวบ้าง เน่าบ้าง ขำบ้าง ที่ต้องบอกผ่านทางคอลเซ็นเตอร์สาวเสียงใสด้วยความเขินอาย  จากนั้นก็กลับไปบ้านไปนอนลุ้นว่า เธอ ได้รับแล้วจะรู้สึกอย่างไร
ส่วนหญิงสาวคงจำความรู้สึกหลังจากที่ได้เปิดอ่านข้อความแล้วได้ หลายคนนอนอมยิ้มฝันดีไปทั้งคืนเลยทีเดียว

อันที่จริงอารมณ์การ ส่ง เพจเจอร์ ก็คงไม่ต่างอะไรกับการส่ง SMS มากมายนัก  ต่างก็แค่ เพจเจอร์ จะส่งข้อความได้มากกว่าการส่ง SMS แต่ส่งหาได้แค่คนเดียว(SMS ก็อปแล้วส่งได้เรื่อยๆ) และมีขั้นตอนการส่งที่แตกต่างเล็กน้อย คือ ไม่ต้องพิมพ์เอง 
ข้อความที่ส่งในขณะนั้นส่วนใหญ่จะเป็น กลอน สั้นๆ ประมาณ1บท คล้องบ้างไม่คล้องบ้าง แต่เน้นสื่อความหมายเป็นสำคัญ
กระนั้น ส่วนตัวกลับรู้สึกว่า เพจเจอร์ มีเสนห์บางอย่างที่พิเศษกว่าการส่ง SMS


{#เพจเจอร์03.jpg} 
มีตัวอย่างข้อความที่ใช่ส่งใน เพจเจอร์ มาให้อ่านแล้วอมยิ้มกันเล่น

คนหลายล้านคนบนโลก
ร้อยหมื่นคนที่รู้จัก
พบเจอใครมาก็หลายคนนัก
แต่แปลก..ที่คุณกลับเป็นคนของความรักคนเดียว


หอบความคิดถึงมาแสนไกล
พร้อมด้วยกลิ่นไอแสนละมุน
กับหนึ่งคำที่แสนอบอุ่น
และน้ำเสียงคุ้นๆบอกว่าคิดถึงจัง


ให้ฉันได้อยู่เคียงข้าง
ในวันที่เธออ้างว้างได้ไหม
แม้ไม่มีคำปลอบโยนใดใด
แต่มีมือที่คอยซับน้ำตาให้อย่างอาทร


จะเก็บดวงดาวน้อยบนฟากฟ้า
สอยลงมาเก็บไว้ที่ใต้หมอน
มอบให้เธอหนุนเวลานอน
ดาวใต้หมอนช่วยให้เธอหลับฝันดี


หัวใจดวงนี้ไม่มีอะไร
แต่มันมีไว้เพื่อใครบางคน
หัวใจดวงนี้บางครั้งสับสน
เพราะใครบางคนไม่เคยสนใจ


รู้ไว้เถอะนะคนดี
จะไม่มีอะไรที่เปลี่ยนความรู้สึกของฉัน
แม้เวลาจะเปลี่ยนคืน-เปลี่ยนวัน
แต่หัวใจฉันจะมีเธอเสมอไป

วันเกิดปีนี้อยากให้ของขวัญเป็นไม้วิเศษ
ที่เสกอะไรก็ได้ตามใจฝัน
แต่อย่าลืมเสกเผื่อฉันด้วยละกัน
คนที่โขมยไม้วิเศษอันนั้นจากพี่มอสมาให้เธอ


อยากเอาดอกไม้ไปให้ที่บ้าน
แล้วก็พูดหวานๆว่ารักเสมอ
แต่ตอนนี้เธออยู่ไกล ถึงไปก็คงไม่ได้เจอ
งั้นฝาก Operator เพจบอกเธอว่า Happy Valentine


พอแค่นี้ก่อนเดี๋ยว จะหวานมากไป ปรากฏการณ์ดีๆที่เกิดขึ้นในยุคนั้น ก็คือกำเนินกวีสมัครเล่นมากมาย ที่ใช้ ความรัก เป็นแรงบันดาลใจในการแต่งกลอนดีๆขึ้นมา


จำไม่ได้ว่า เพจเจอร์ เสื่อมความนิยมไปเมื่อไหร่ แต่รู้สึกตัวอีกทีเราก็ลืมมันไปเสียสนิทแล้ว คนร่วมสมัยอย่างเราๆ ตอนนี้ถ้าไป


{#เพจเจอร์04.jpg}

บอกใครว่ายังใช้ เพจเจอร์ อยู่คงโดนหาว่าโบราณครํ่าครึน่าดู  ยิ่งไปคุยกับเด็กรุ่นใหม่นี่แถบไม่ต้องพูดถึงเลย คงโดนถามกลับมาว่า มันคืออะไรเหรอ


{#เพจเจอร์05.jpg}
แปลกนะที่บางสิ่ง ในยุคสมัยหนึ่งเป็นของทันสมัย ใครไม่มีถือว่าเชย แต่พอเวลาผ่านไป กลับกลายเป็นของที่ล้าสมัย ใครใช้ถูกหาว่าเชย
กาลเวลาหมุนผ่าน สิ่งที่เปลี่ยนแปลงบ่อยที่สุดก็คือ ความเปลี่ยนแปลง  ถึงงั้นก็จะจดจำไว้ว่า ครั้งหนึ่งเราเคยได้ใช้ เพจเจอร์ ใครอยากข้าม


{#เพจเจอร์06.jpg}